จักรยานยนต์ หรือ มอเตอร์ไซค์ (อังกฤษ: motorcycle หรือ motorbike)
คือยานพาหนะสองล้อที่ใช้เครื่องยนต์หรือมอเตอร์ในการขับเคลื่อน ประเภทของจักรยานยนต์ขึ้นอยู่กับลักษณะการออกแบบใช้งาน เช่น ระยะทาง สภาพจราจร การท่องเที่ยว กีฬา และ การแข่งขัน เป็นต้น
ประวัติ
จักรยานยนต์คันแรกของโลกถูกออกแบบและสร้างโดยนักประดิษฐ์ชาวเยอรมันที่ชื่อ ก็อตต์ลีบ เดมเลอร์ (Gottlieb Daimler) จดสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม ปี พ.ศ. 2428 (ค.ศ. 1885) ซึ่งต่อมาได้รับการพัฒนาให้เป็นรถสำหรับใช้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง อย่างไรก็ตาม ถ้าจะนับยานพาหนะสองล้อที่ขับเคลื่อนด้วยพลังไอน้ำว่าจักรยานยนต์แล้ว ได้เกิดขึ้นที่สหรัฐอเมริกาในปี พ.ศ. 2410 (1867) โดย Sylvester Howard Roper จาก Massachusetts[1]
ในปี พ.ศ. 2437 (ค.ศ. 1894) Hildebrand & Wolfmüller ออกจำหน่ายจักรยานยนต์เพื่อการค้าเป็นครั้งแรก โดยปรับปรุงการเผาไหม้ภายในเครื่องยนต์ให้ดีขึ้น จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ผู้ผลิตจักรยานยนต์มากที่สุดเห็นจะเป็น อินเดียน ผลิตจักรยานยนต์จำนวนสองหมื่นคันต่อปี โดยในปี 1920 ฮาร์ลีย์-เดวิดสันผลิตจักรยานยนต์เพื่อขายมากกว่า 67 ประเทศ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) DKW ได้กุมตลาดใหญ่ไว้
หลังสงครามโลกครั้งที่สอง BSA Group เป็นผู้ผลิตใหญ่ ผลิตจักรยานยนต์ 75,000 คันต่อปีในทศวรรษที่ 50 และบริษัทจากเยอรมนี Motorenwerke AG เป็นผู้ผลิตมากที่สุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) ถึง ทศวรรษที่ 70
ปัจจุบัน บริษัทจากญี่ปุ่น อย่าง ฮอนด้า คาวาซากิ ซูซูกิ และยามาฮ่า ได้มีอิทธิพลต่อวงการจักรยานยนต์ ในขณะที่ในอเมริกา ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน ก็ยังคงรักษาระดับความนิยมไว้ได้ ทางฝั่งยุโรปก็มี ดูคาติ-จากอิตาลี บีเอ็มดับเบิลยู-จากเยอรมัน และ ไทรอัมพ์-จากอังกฤษ ซึ่งในส่วนของบริษัทไทยนั่นก็มี เช่น ไทเกอร์, บิ๊กบูล, สตาเลียน, แพล็ททินัม และ จีพีเอ็กซ์ เรสซิ่ง
นอกจากนั้นยังมีกลุ่มผู้ชื่นชม รถประเภทสกูตเตอร์ ในกลุ่มเล็ก ๆ ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลกเช่นกัน
ข้อดีและข้อเสียของรถจักรยานยนต์
ข้อดี
แต่….รถมอเตอร์ไซค์รับจ้างสามารถช่วยเราให้ไปถึงที่หมายได้ทันเวลา แม้รถไฟฟ้าจะเร็วสักแค่ไหน แต่สามารถเข้าซอยเล็กๆ หรือไปส่งเราได้ถึงหน้าบ้านได้เหมือนมอเตอร์ไซค์รับจ้างหรือเปล่าล่ะ?
ด้วยเหตุนี้รถมอเตอร์ไซค์รับจ้างจึงมีอยู่เต็มบ้านเต็มเมือง ยิ่งในเขตกรุงเทพฯ เราจะเห็นได้ว่ามีมอเตอร์ไซค์รับจ้างอยู่แทบจะทุกซอย เพราะการจราจรในกรุงเทพฯ ติดแบบมหาศาลมาก
มอเตอร์ไซค์รับจ้าง 1 คัน คนขับ 1 คน ก็ทำให้คน 1 คน ได้ไปทำงานทัน ได้เงินไปผ่อนรถ อีกอย่างคนที่มีรายได้น้อยเพียงไม่กี่พันบาท/เดือน ก็สามารถเป็นวินมอเตอร์ไซค์รับจ้างเป็นอาชีพเสริมได้ บางคนมีมอเตอร์ไซค์คันเดียวก็สามารถใช้ประโยชน์ได้อีกหลายอย่าง นอกจากจะใช้ไปรับส่งลูกไปโรงเรียน ไปรับเมียจากที่ทำงาน หรือจะรับจ้างทั่วไป
อีกทั้งตามต่างจังหวัด หลายๆ คนไม่มีรถยนต์ ไม่มีรถสองแถวให้โดยสาร แต่เขาอยู่กันได้เพราะทุกบ้านมีรถมอเตอร์ไซค์ การใช้รถมอเตอร์ไซค์มีค่าใช้จ่ายที่ถูกมาก ไม่เปลืองน้ำมัน ค่าซ่อมก็ไม่แพง และยังได้กอดคนรักจากด้านหลังด้วยนะคะ เขินจุง
ข้อเสีย
แต่อะไรที่มีประโยชน์ย่อมมีโทษตามมาเสมอ ในช่วงเทศกาลต่างๆ มอเตอร์ไซค์เป็นพาหนะที่เกิดมีผู้ขับขี่ล้มเจ็บและตายมากที่สุด เพราะการขับขี่ที่ไม่ความประมาทในการใช้รถบนท้องถนน เกิดจากความคึกคะนองของวัยรุ่น ขับรถเร็วแล้วยังหลีกเลี่ยงกฎหมายไม่ยอมสวมหมวกกันน็อกอีก และบางคนยังดื่มเหล้าและเสพของมึนเมา ทำให้สมองสั่งการช้าลง จนเกิดอุบัติเหตุบาดเจ็บเล็กน้อยไปจนถึงขั้นเสียชีวิต
ถนนในชนบทที่แยกไปจากถนนใหญ่มักจะเป็นหลุมเป็นบ่อ อีกทั้งถ้าเป็นเวลากลางคืนที่ไม่มีไฟสว่างจากเสาไฟฟ้า ทำให้รถมอเตอร์ไซค์ตกหลุมจนล้ม เวลาเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้งรถมอเตอร์ไซค์จะเสียเปรียบรถยนต์ เพราะรถยนต์มีขนาดที่ใหญ่กว่า และคนขับรถยนต์จะมีเกราะป้องกันจากตัวรถ แต่คนขับรถมอเตอร์ไซค์ไม่มีอะไรเป็นเกาะป้องกันเลย ฉะนั้นเวลารถยนต์ชนกับรถมอเตอร์ไซค์แต่ละครั้ง มักทำให้คนขี่มอเตอร์ไซค์ตาย หรือไม่ตายก็บาดเจ็บมากกว่าคนอยู่บนรถยนต์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น